เนย มีประโยชน์อย่างไร

หัวข้อ

เนย มีประโยชน์อย่างไร

เนย มีประโยชน์อย่างไร เนย เป็นผลิตภัณฑ์จากนมวัวชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ประกอบไปด้วยไขมันนมที่ถูกแยกจากส่วนประกอบอื่น ๆ ของนมโดยผ่านกระบวนการปั่นนม และด้วยความหอมอร่อยนั่นเอง เนยจึงมักถูกนำมาใช้ในการทอด หรือใช้เป็นส่วนประกอบของซอส เค้ก และขนมอบต่าง ๆ เนยปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ จะให้พลังงาน 101 แคลอรี่ เนยเพื่อสุขภาพ โดยส่วนใหญ่เป็นพลังงานที่ได้จากไขมัน ซึ่งมีทั้งไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันทรานส์ รวมไปถึงกรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดอย่างวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินบี 12 และวิตามินเค 2 นอกจากนี้ เนยชนิดที่ได้จากวัวที่กินหญ้านั้นจะมีคุณค่าทางโภชนาการที่สูงกว่าเนยชนิดที่ได้จากวัวที่กินธัญพืช ทั้งยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์อย่างกรดคอนจูเกเตดไลโนเลอิกและบิวไทเรตอีกด้วย

 

กระบวนการผลิตเนยสด เนย มีประโยชน์อย่างไร

 

เนย มีประโยชน์อย่างไร กระบวนการแรกในการผลิตเนย คือการแยกเนื้อครีมออกจากนม ในอดีตนมจะถูกทิ้งไว้เอาเฉย ๆ จนกว่าครีมจะลอยขึ้นบนผิวหน้า เรียกว่าจุดพร่องมันเนย ครีมเกิดขึ้นเนื่องจากไขมันจะมีน้ำหนักเบากว่าส่วนประกอบอื่น ๆ ของนม การผลิตครีมในปัจจุบันมีการใช้กรรมวิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม เรียกกระบวนการหมุนเหวี่ยง เนยแท้ อันตราย ไหม เนยจะผลิตจากครีมที่ผ่านการปั่นนี้ ซึ่งเป็นการเขย่าครีมจนไขมันนม หรือเนยเกิดการรวมตัวกันเป็นก้อน และแยกออกมาจากส่วนของเหลวหรือบัตเตอร์มิลค์ เมื่อนมเนยถูกแยกออกมาหมดแล้ว เนยจะถูกปั่นต่อไปจนกว่าจะพร้อมสำหรับกระบวนการบรรจุ

 

ประโยชน์ของเนย

 

เนื่องจากเนยมีสารอาหารที่มีประโยชน์อยู่หลายชนิด จึงเชื่อกันว่าเนยอาจช่วยบำรุงร่างกายและป้องกันโรคบางชนิดได้ โดยมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นที่ชี้ว่าเนยอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้

 

  • ช่วยบำรุงกระดูก

 

เนยบางชนิดอย่างเนยชนิดที่ได้จากวัวที่กินหญ้าอุดมไปด้วยวิตามินเค 2 โดยมีงานวิจัยหนึ่งที่ชี้ว่าวิตามินชนิดนี้อาจช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก โดยช่วยเพิ่มความหนาแน่นและมวลของกระดูก ซึ่งอาจลดความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุนได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเนยในด้านนี้อีกครั้ง

 

  • เสริมสร้างสุขภาพระบบหัวใจและหลอดเลือด

 

โรคหัวใจและหลอดเลือด หมายถึงโรคหรือภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการหดตัวของหลอดเลือดหรือถูกปิดกั้น ซึ่งอาจนำไปสู่อาการหัวใจวาย เจ็บหน้าอก หรือโรคหลอดเลือดสมองได้ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในปัจจุบัน เนื่องจากเนยมีไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่พอเหมาะและช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ แต่ในขณะเดียวกันหากทานปริมาณมากอาจเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี ทั้งยังมีงานวิจัยบางส่วนที่ชี้ว่าการบริโภคเนยอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจอีกด้วย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเนยและโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกครั้ง

 

  • ช่วยเรื่องการควบคุมน้ำหนัก

 

เนื่องจากเนยอุดมไปด้วยกรดคอนจูเกเตดไลโนเลอิก ซึ่งมีงานวิจัยหนึ่งที่ชี้ว่ากรดคอนจูเกเตดไลโนเลอิกอาจช่วยลดปริมาณไขมันในร่างกายได้ จึงเชื่อกันว่าเนยอาจมีประสิทธิภาพช่วยเรื่องการควบคุมน้ำหนักได้ นอกจากนี้ เนยยังอุดมไปด้วยกรดบิวไทเรต ซึ่งมีงานวิจัยที่ชี้ว่าอาจช่วยป้องกันการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อยืนยันประสิทธิภาพของเนยในการควบคุมน้ำหนักอีกครั้ง

  • ป้องกันโรคมะเร็ง

 

มะเร็งถือเป็นโรคที่เกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติของเซลล์ ซึ่งถือเป็นโรคร้ายที่อาจคร่าชีวิตของผู้ป่วยได้หากมีการลุกลามไปยังอวัยวะสำคัญอย่างมะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น ซึ่งผู้ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งแต่ละชนิดก็จะมีอาการที่แตกต่างกันไป มีงานวิจัยหนึ่งที่ชี้ว่ากรดคอนจูเกเตดไลโนเลอิกที่พบในเนยอาจมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง จึงเชื่อกันว่าการบริโภคเนยอาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่าเนยมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งได้จริง

 

ข้อควรระวังในการรับประทานเนย

 

แม้เนยจะมีคุณประโยชน์มากมาย แต่ไม่ได้หมายความว่า จะสามารถรับประทานเนยมากเท่าไรก็ได้ เนื่องจากบางครั้งการรับประทานเนยก็ก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน ดังนี้

 

  • อาการแพ้นม

 

เพราะเนยเป็นผลิตภัณฑ์ทำมาจากนม หากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อาหารเกี่ยวกับนมก็เสี่ยงที่จะแพ้เนยได้ด้วย ดังนั้นถ้ามีโรคดังกล่าวจึงควรหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของเนยจะปลอดภัยที่สุด อาการแพ้อาหารสามารถรุนแรงได้ถึงขั้นอาการภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการที่เกิดหลัง หรือขณะรับประทานอาหาร ซึ่งบ่งชี้ว่า อาจมีภาวะแพ้อาหาร มีผื่นลมพิษขึ้นตามตัวและรู้สึกคันระคายเคือง

 

  • อาการแพ้น้ำตาลแลคโตส

 

เช่นเดียวกับอาการแพ้นม ผู้ที่มีอาการแพ้น้ำตาลแลคโตสก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนยเช่นกัน หรือหากต้องการรับประทานเนยจริงๆ การรับประทานเนยใส หรือเนยหมัก (Cultured butter) ซึ่งมีปริมาณน้ำตาลแลคโตสน้อยมาก อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

 

  • เกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูง

 

อย่างที่รู้กันดีว่า เนยเป็นอาหารที่มีไขมันสูง หากรับประทานมากเกินไปก็จะทำให้คอเลสเตอรอลในร่างกายมีมากเกินจำเป็นจนเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) ซึ่งเกิดจากไขมันไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดจนหนาตัวขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดหลอดเลือดก็จะอุดตันทำให้เลือดไม่สามารถไหลไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ และยังทำให้เกิดอาการค้างเคียงร้ายแรงตามมา 

 

บทความที่แนะนำ